กำจัดมด
มดเป็นแมลงที่สร้างความรำคาญ และก่อให้เกิดอาการคัน แพ้บวม บางรายเกิดอาการแพ้ เราจะสังเกตการระบาดของมดได้จากการหาอาหาร เพราะมดจะเดินออกจากรังไปยังแหล่งอาหาร การลดความเสี่ยงของมด ควรเริ่มจากการมีสุขลักษณะที่ดี และการทิ้งขยะให้ถูกที่
ลักษณะของมดเหม็น
- หัวและอกสีดำ ท้องสีน้ำตาลอ่อน
- หนาดยาว
- มีเอว 1 ปุ่ม
- อาศัยอยู่นอกตัวอาคาร/ ผนังอาคาร
- มีกลิ่นเหม็น
- กัดเจ็บเล็กน้อย
ลักษณะมดละเอียด
- สีแดงสนิมปนน้ำตาล ท้องใส
- มีหนวด 12 ปล้อง
- มีเอว 2 ปุ่ม
- อาศัยในรอยแตกแยก ในดิน
- ชอบกินน้ำตาล ไขมัน โปรตีน
- กัดเจ็บเล็กน้อย
ลักษณะของมดดำ
- สีดำหรือสีน้ำตาลเข็ม
- มีหนวด 12 ปล้อง
- มีเอว 1 ปุ่ม
- อาศัยในสวน ชอบจนย้ายไข่
- กินน้ำหวาน
- สร้างความรำคาญ
ลักษณะของมดแดง
- สีแดงสนิม
- มีหนวด 12 ปล้อง
- มีเอว 1 ปุ่ม
- อาศัยบนต้นไม้
- กินแมลง เนื้อสัตว์
- กัดและฉีดสารพิษจากปลายท้อง ทำให้เจ็บปวด
ลักษณะมดคันไฟ
- สีเหลือง
- มีหนวด 10 ปล้อง
- มีเอว 2 ปุ่ม
- มีเหล็กไน
- อาศัยในดิน อยู่ภายนอกตัวอาคาร
- กินแมลง - ซากสัตว์เล็ก
มาตฐานการควบคุม -และการกำจัดมด
- สุขวิทยาและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
- ปิดครอบอาหารทุกครั้ง
- ทำความสะอาดอาหารและของเหลวที่ตกหล่นอยู่ภายในห้องครัง เครื่องครัว ทันที
- มัดถุงขยะ ปิดถังขยะอย่างมิดชิด และกำจัดขยะอยู่อย่างสม่ำเสมอ
- หลังจากสุตวฺเลี้ยงกินอาหารควรเก็บ และทำความสะอาดทันที
- สำรวจหาจุดที่มีทางเข้าของมดและอุดทันที ตามรอยร้าว รอยแตกแยกของอาคาร รอยแตกระหว่างประตู หน้าต่าง
- การใช้สารเคมีกำจดแมลง
- การใช้เหยื่อพิษ
ขันตอนงานกำจัดมด
- สำรวจพื้นที่ทั้งหมดโดยละเอียดตามขอบวงกบ ห้องครัว บริเวณภายในและภายนอกรอบตัวอาคาร เพื่อดูปัญหาก่อนการให้บริการ
- ฉีดพ่นยาน้ำบริเวณภายในตัวอาคารหรือพื้นที่ที่มดทำรัง จะพบมากบริเวณห้องครัว ห้องเก็บของ ตามซอกมุมของอาคาร ตามรอยแตกแยก ต้นไม้ สวนหย่อม และบริเวณภายนอกตัวอาคาร